- บทนำ

-

ปลาหางนกยูง

- ปลากัด

- ปลาการ์ตูน

- ปลาเสีือตอ

- ปลาออสการ์

- ปลาืทอง

- ปลาหมอสี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    ปลาทอง
           ปลาทอง เป็นสัตว์น้ำที่ชื่อมีความหมายล้ำค่าแก่ผู้ที่ได้ครอบครอง และยังเป็นปลาที่มีผู้นิยมเลี้ยงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันด้วยความหลากหลายของสายพันธุ์ทำให้มีความต้องการของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง   มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่าGoldfish เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในครอบครัว (Family) Cyprinidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCarassius auratus (Linn.)มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีนตอนใต้  ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำในสภาพแวดล้อมที่ดีปลาทองอาจมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ 20-30 ปี แต่ปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิตประมาณ 7-8 ปี   พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง   20 ปี
            ปัจจุบันประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น     เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด ประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลาทองกันมากในแถบจังหวัดราชบุรี นครปฐมและกรุงเทพฯ  สำหรับประเทศไทยผลผลิตปลาทองส่วนมากมีการจำหน่ายภายในประเทศ การส่งออกมีจำนวนน้อย
           การส่งออกจะแบ่งเป็น  2 ประเภท   คือการส่งปลาที่มีคุณภาพดี เช่น   สายพันธุ์หัวสิงห์ ตลาดส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ยุโรป อังกฤษและฝรั่งเศส  ส่วนปลาทองที่มีคุณภาพรองลงมา เช่น ออแรนดา จะมีตลาดอยู่ที่สหรัฐอเมริกาขณะเดียวกันก็มีการนำเข้าปลาทองสายพันธุ์สิงห์ญี่ปุ่น (รันชู) จากประเทศญี่ปุ่นมาเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์
 สายพันธุ์ปลาทอง                                              
           ปลาทองสายพันธุ์ต่าง ๆ
           ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ปลาทองมีความหลากหลายในสายพันธุ์ทำให้เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันมีสายพันธุ์ปลาทองมากกว่า 100 สายพันธุ์ การตั้งชื่อปลาทองแต่ละสายพันธุ์นั้นจะตั้งชื่อตามลักษณะลำตัวและลักษณะครีบ ซึ่งเราสามารเทศสูงมาก อาชีพการเพาะเลี้ยงปลาทองสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี
           ปลาทอง บางครั้งนถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่มดังนี้
           พวกที่มีลำตัวแบนยาว (Flat body type) ปลาในกลุ่มนี้ส่วนมาก มีลำตัวแบนข้างและมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นปลาทองวากิงซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้จะว่ายน้ำได้ปราดเปรียวและรวดเร็ว เลี้ยงง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีความแข็งแรงมากที่สุดในบรรดากลุ่มปลาทองทั้งหมด เจริญเติบโตเร็วเหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อ สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่
+ ปลาทองธรรมดา (Common goldfish) มีลักษณะเหมือนปลาทองที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติมีสีส้ม เขียว ทอง และขาว มีจุดหรือลายสีดำ ลำตัวค่อนข้างยาว และแบนข้าง
+ ปลาทองโคเมท (Comet goldfish) ปลาทองชนิดนี้พัฒนามาจาก Common goldfish มีครีบยาวเรียวออกไป โดยเฉพาะครีบหาง ซึ่งอาจจะมีความยาวมากกว่า เศษสามส่วนสี่ หรือหนึ่งเท่าของความยาวลำตัวทำให้ว่ายน้ำได้รวดเร็ว เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ลำตัวมีสีส้ม ขาวเงิน และเหลือง เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา
+ ปลาทองชูบุงกิง (Shubunkin) ปลาทองสายพันธุ์นี้คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศญี่ปุ่น มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาทองธรรมดา แต่มีครีบทุกครีบยาวใหญ่สมบูรณ์กว่าปลาทองพันธุ์ธรรมดามาก ปลายครีบหางมนกลม ลำตัวอาจมีสีแดง ส้ม ขาว ขาวและแดง หรืออาจมีหลายสี มี 2 สายพันธุ์ คือ londonshubunkin และ Bristol shubunkin สายพันธุ์ Bristol shubunkin จะมีครีบหางใหญ่กว่าชนิด London shubunkin
+ ปลาทองวากิง (Wakin) ปลาทองพันธุ์นี้คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศจีน ลำตัวมีสีแดงสดใส และสีขาวสายพันธุ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีลำตัวแบนยาวแต่มีครีบหางเป็นคู่
           พวกที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่   (Round หรือ egg-shaped body type)   ปลาในกลุ่มนี้มีจำนวนมากแบ่งเป็นหลายสายพันธุ์ มีลักษณะครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างกันหลากหลาย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากลักษณะครีบดังนี้
       พวกที่มีครีบหลัง มีลำตัวสั้น มีครีบยาวและครีบหางเป็นคู่ เช่น
     + ปลาทองริวกิ้น (Ryukin)     เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นปลาที่มีรูปร่างและสีสันสวยงาม มีท่วงท่าการว่ายน้ำที่สง่างาม ลักษณะเด่น คือ ลำตัวด้านข้างกว้างและสั้น ส่วนท้องอ้วนกลม มองจากด้านหน้าโหนกหลังสูงขึ้นมากทำให้ส่วนหัวแลดูเล็กครีบหลังใหญ่ยาวและตั้งขึ้น ครีบหาง เว้าลึกยาวเป็นพวง ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อ เช่นVeiltail และ fantail เป็นต้น เกล็ดหนา สีที่พบมากมีทั้งสีแดง ขาว ขาว-แดง และส้ม หรือมีห้าสี คือ แดง ส้ม ดำ ขาว ฟ้า ซึ่งในบ้าน เรานิยมเรียกว่า ริวกิ้นห้าสี
     + ปลาทองออแรนดา (Oranda)       ปลาพันธุ์นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และพันธุ์ริวกิ้น อาจเรียกว่า Fantail lionhead ปลาทองพันธุ์ออแรนดา (Oranda) จะมีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาวกว่าปลาทองพันธุ์หัวสิงห์และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบทุกครีบยาวใหญ่โดยเฉพาะครีบหางจะยาวแผ่ห้อยสวยงามมาก ปลาทองพันธุ์นี้แบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ  ได้อีก    
           ตามลักษณะหัวและสีได้แก่
+ ออแรนดาธรรมดา มีลำตัวค่อนข้างยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบทุกครีบยาวมาก
+ ออแรนดาหัววุ้น ลำตัวและหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา แต่บริเวณหัวจะมีวุ้นคลุมอยู่คล้ายกับหัวปลาทองพันธุ์หัวสิงห์แต่วุ้นจะไม่ปกคลุมส่วนของหัวทั้งหมด จะมีวุ้นเฉพาะตรงกลางของส่วนหัวเท่านั้น และวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมองจากด้านบน
+ ออแรนดาหัวแดง (Red cap oranda) คือ ออแรนดาหัววุ้นนั่นเองแต่จะมีวุ้นบนหัวเป็นสีแดง และลำตัวมีสีขาวภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ตันโจ มีลักษณะลำตัวสีขาวเงิน วุ้นบนหัวเป็นก้อนกลมสีแดง คล้ายปลาสวมหมวกสีแดง
+ ออแรนดาห้าสี (Calico oranda) ลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้นทั่วไป แต่มีสีลำตัว 5 สี คือ ฟ้า ดำ ขาว แดง ส้ม
+ ออแรนดาหางพวง (Vailtail) ลักษณะครีบหางจะยาวเป็นพวง ครีบหลังพริ้วยาว ที่หัวมีวุ้นน้อยหรือไม่มีเลย ส่วนของลำตัวใหญ่สั้น ท้องกลม แต่ส่วนหลังแบนข้างเล็กน้อย บริเวณโหนกหลังสูงชันมาก ทำให้ส่วนหัวดูแหลมเล็ก ครีบหลังใหญ่ยาวและตั้งสูง ครีบหางเว้าลึกเป็นพวง
     + ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scales goldfish)       ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว มีลำตัวอ้วนกลมสั้น ส่วนท้องป่องออกมาทั้ง 2 ด้าน เมื่อมองด้านบนจะเห็นเป็นรูปทรงกลม หัวมีขนาดเล็ก ปากแหลม มีลักษณะเด่นที่เกล็ดคือ เกล็ดหนามาก และนูนขึ้นมาเห็นเป็นเม็ดกลม ๆ ซึ่งเกิดจากเกล็ดที่มีสารพวกกัวอานิน (guanine) มากนั่นเอง ลักษณะเกล็ดที่ดีต้องขึ้นครบนูนสม่ำเสมอและเรียงกันอย่างมีระเบียบ ครีบทุกครีบรวมทั้งหางสั้นและต้องกางแผ่ออกไม่หุบเข้าหรืองอ สีที่นิยมได้แก่ สีแดง ส้ม เหลือง ดำ ขาว ขาวแดง ปลาชนิดนี้เลี้ยงยาก ปลาทองเกล็ดแก้วที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เกล็ดแก้ว หัวมงกุฎ เกล็ดแก้วหน้าหนู และเกล็ดแก้วหัววุ้น
      + ปลาทองตาโปน (Telescope eyes goldfish)        มีลักษณะลำตัวสั้น   และส่วนท้องกลมคล้าย ๆ กับพันธุ์ริวกิ้น มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง โดยตาจะยื่นโปนออกมาด้านข้างเห็นได้เด่นชัด     ถือกันว่าตายิ่งโปนมากยิ่งเป็นลักษณะที่ดี และเมื่อมองจากด้านบนจะต้องมีลักษณะกลมยื่นออกมาเท่ากันทั้งตาซ้ายและตาขวา ครีบทุกครีบและหางจะต้องแผ่กว้าง ปลายไม่หุบเข้า หรืองอไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ครีบที่เป็นครีบคู่จะต้องเท่ากันและชี้ไปในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ปลาทองพันธุ์นี้ยังแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีกตามลักษณะสีบนลำตัวและครีบ ได้แก่
+ ปลาทองตาโปนสีแดง หรือขาวแดง (Red telescope-eyes goldfish) ลำตัวและครีบจะต้องมีสีแดงเข้ม หรืออาจมีสีขาวสลับสีแดง และสีขาวจะต้องขาวบริสุทธิ์ไม่อมเหลือง จึงจะถือว่าเป็นลักษณะที่ดี
+ ปลาทองตาโปน 3 สี หรือ 5 สี (Calico telescope-eyes goldfish)   ลำตัวและครีบมีหลายสีในปลาตัวเดียวกัน
+ ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black telescope-eyes goldfish หรือ Black moor) ซึ่งได้แก่ ปลาทองที่เรียกว่า รักเล่ห์ หรือเล่ห์นั่นเอง ลักษณะที่ดีของปลาพันธุ์นี้คือ ลำตัวและครีบจะต้องดำสนิทและไม่เปลี่ยนสีไปจนตลอดชีวิต
     + ปลาทองแพนด้า (Panda)      ปลาทองสายพันธุ์นี้นิยมมากในประเทศจีน เป็นปลาทองพันธุ์เล่ห์ที่ได้มีการลอกสีที่ลำตัวจนกลายเป็นสีขาวหรือสีเงิน ส่วนครีบต่าง ๆ จะมีสีดำมีลักษณะคล้ายหมีแพนด้า ซึ่งสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะไม่คงที่เพราะมีการลอกสีไปเรื่อย ๆ
     + ปลาทองปอมปอน (Pompon)     ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ได้ มีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์แต่แตกต่างกันตรงส่วนหัว โดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอนจะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกเป็นพู่ 2 ข้างทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ      ปลาทองปอมปอนที่นิยมมากที่สุดคือพันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง สายพันธุ์ปอมปอนแบ่งออกเป็นปอมปอนหัวสิงห์ ปอมปอนออแรนดา ปลาทองสายพันธุ์นี้บ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมแพร่หลายมากเท่าใดนัก       สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาสายพันธุ์นี้โดยมากมีทรวดทรงที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นขณะเดียวกันเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้ยาก และปลาที่เพาะพันธุ์ได้โดยมากเป็นปลาพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่นัก
เพาะพันธุ์ปลาระดับมืออาชีพ เนื่องจากเพาะแล้วไม่ค่อยคุ้ม
    * พวกที่ไม่มีครีบหลัง มีรูปร่างกลมและไม่มีครีบหลังปลาทองในกลุ่มนี้จะว่ายน้ำได้ไม่ดี เทียบเท่ากับกลุ่มที่มีครีบหลังได้แก่
     + ปลาทองหัวสิงห์จีน (Chinese lion head)       จีนเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองสายพันธุ์นี้    ชาวตะวันตกเรียกปลาทองสายพันธุ์นี้ว่าLionhead ในประเทศไทยเรียกว่า ปลาทองหัวสิงห์จีน  (Chinese lionhead)   ลักษณะโดยทั่วไปจะมองคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่ลำตัวค่อนข้างยาวไม่สั้นกลมอย่างสิงห์ญี่ปุ่น และส่วนหลังก็จะโค้งน้อยกว่าสิงห์ญี่ปุ่น หางใหญ่ยาวกว่าวุ้นบนหัวจะมีมากกว่าสิงห์ญี่ปุ่น วุ้นขึ้นปกคลุมส่วนหัวทั้งหมดและวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด สีลำตัวและครีบ มักจะมีสีอ่อนกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ก็เคยพบบางตัวมีขนาดใหญ่ถึง 25 เซนติเมตร อายุเฉลี่ยประมาณ 5-7 ปี
     + ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น (Ranchu หรือ Japanese lion head)        เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นเรียก Ranchu เป็นปลาทองพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในบรรดาปลาทองหัวสิงห์ ทั้งหมด ราคาค่อนข้างสูง ลักษณะที่ดีของปลาทองพันธุ์นี้คือ ลำตัวสั้นค่อนข้างกลม ถ้ามองจากด้านบนท้องทั้งสองด้านจะต้องป่องออกเท่ากัน สันหลังโค้งเรียบเป็นรูปไข่ ไม่มีรอยหยักขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่มีครีบหลัง     ครีบทุกครีบสั้น ครีบคู่ทุกครีบต้องมีขนาดเท่ากัน และอยู่ในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ครีบหางสั้นและตั้งแข็งแผ่กว้าง วุ้นจะต้องขึ้นทั่วทั้งหัว เช่น บริเวณรอบปาก รอบดวงตาและใต้คาง โดยเฉพาะวุ้นใต้คางควรจะมีมากเป็นพิเศษจนมองดูจากด้านบนหัวจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขณะว่ายน้ำต้องทรงตัวได้ดีและว่ายน้ำในลักษณะหัวก้มต่ำเล็กน้อย สีของปลาทองพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น แดง แดงและขาว ส้ม ดำ ขาว และห้าสี สีแดงเป็นสีที่ได้รับความนิยมมาก ปลาชนิดนี้ค่อนข้างอ่อนแอเลี้ยงยาก เนื่องจากการผสมเลือดชิด (inbreed) ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-25 เซนติเมตร
      + ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead, Ranchu x Chinese lionhead)        ปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นลูกผสมเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย    ซึ่งนำจุดเด่นของปลาทองหัวสิงห์จีนและสิงห์ญี่ปุ่นมารวมกันไว้ในปลาตัวเดียวกัน สาเหตุของการผสมข้ามพันธุ์ เนื่องมาจากปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น จะผสมพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นการนำปลาทองหัวสิงห์จีนมาผสมด้วยจะช่วยให้ปลาแพร่พันธุ์ได้ง่ายและได้จำนวนลูกปลาเพิ่มมากขึ้น ลักษณะเด่นของปลาทองหัวสิงห์ลูกผสมคือ วุ้นบนหัวของปลาจะมีขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่เท่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ใหญ่กว่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น หลังโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ไม่โค้งและสั้นเท่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น      ครีบหางสั้นกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน     แต่จะยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
      + ปลาทองพันธุ์สิงห์ตามิดหรือสิงห์สยาม (Siamese lionhead)        เป็นปลาที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศไทย ลักษณะลำตัวทั่ว ๆ ไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่หัวมีวุ้นมากกว่า วุ้นจะขึ้นคลุมทุก ๆ ส่วนบนหัวแม้กระทั่งส่วนของตาจะมองไม่เห็นเลยจึงทำให้ได้ชื่อว่าสิงห์ตามิดครีบหางมีขนาดใหญ่กว่าสิงห์ญี่ปุ่นเล็กน้อย ทุกส่วนของลำตัวต้องดำสนิท
      + ปลาทองพันธุ์ตากลับ (Celestial goldfish)     ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ตากลับ เป็นปลาทองที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนเรียกว่าโชเตนงัน(Chotengan) ซึ่งมีความหมายว่า ปลาตาดูฟ้าดูดาว หรือตามุ่งสวรรค์ ญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่าเดเมรันชู (Deme- ranchu) ลักษณะเด่นคือ มีตาหงายกลับขึ้นข้างบน ผิดจากปลาทองชนิดอื่น ๆตาใหญ่สดใสทั้งสองข้าง ส่วนหัวไม่มีวุ้นหรือมีเคลือบเล็กน้อย ไม่มีครีบหลัง ลำตัวยาว หลังตรงหรือโค้งลาดเล็กน้อย ครีบหางยาว
       + ปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble eyes goldfish)     มีลักษณะลำตัวคล้ายพันธุ์หัวสิงห์แต่ค่อนข้างยาวกว่า ไม่มีครีบหลัง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือบริเวณใต้ตาจะมีถุงโป่งออกมาลักษณะคล้ายลูกโป่ง    และถือกันว่าถุงลูกโป่งยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งเป็นลักษณะที่ดี และถุงทั้งสองข้างจะต้องมีขนาดเท่ากัน     ปลาพันธุ์นี้ที่พบมากมีสีแดง ส้ม หรือสีผสมระหว่างสีแดงและสีขาว หรือส้มและขาว   จัดเป็นปลาที่เลี้ยงยากและเพาะพันธุ์ได้ยาก ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
  อาหารปลาทอง
           อาหารธรรมชาติ ถึงแม้ปลาทองจะเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (Omnivorous)แต่ในธรรมชาติชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemia) หนอนแดง และไส้เดือนน้ำ      อาหารมีชีวิตเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงทำให้ปลาโตเร็วมีความสมบูรณ์ทางเพศดีเหมาะสมต่อการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง โดยให้วันละ 2-3 รั้ง   อาหารธรรมชาติจะให้ในสภาพที่มีชีวิตหรือตายแล้วก็ได้ หากเป็นอาหารที่ตายแล้วต้องให้ปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามีอาหารเหลือต้องรีบดูดทิ้งทันที เนื่องจากอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดโรคได้      ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมและราชบุรีได้เพาะเลี้ยงปลาทองโดยใช้หนอนแมลงวันหรือหนอนขี้หมูขาว ซึ่งเกิดในบริเวณเล้าหมู เรียกว่า หนอนขี้หมูนำมาเลี้ยงปลาใช้เป็นอาหารปลาทองขนาดอายุ 1-2 เดือนขึ้นไป แต่ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาควรระวังอย่าให้กินหนอนขี้หมูมาก เพราะจะทำให้ปลาอ้วนเกินไปซึ่งมีผลทำให้ปริมาณไข่ที่ออกน้อย
     ข้อควรระวัง ก่อนนำหนอนขี้หมูมาเป็นอาหารจะต้องนำมาล้างน้ำให้สะอาดและแช่ด่างทับทิมใน
อัตราส่วน 2-3 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร หรือต้มเพื่อป้องกันเชื้อโรค
           ผลดีของอาหารมีชีวิต
+ สัตว์น้ำจะมีเอนไซม์ช่วยย่อย ซึ่งสัตว์น้ำสามารถย่อยและกินได้ตลอดเวลา
+ อาหารมีชีวิตมีองค์ประกอบของกรดอะมิโนอิสระที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเจริญเติบโต
+ มีสารสีต่าง ๆ (Pigment) ตามธรรมชาติ ช่วยในการป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรคซึ่งปลาไม่สามารถสังเคราะห์เองตามธรรมชาติ
+ มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป
           อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดขนาดเล็กเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาทอง   และควรเลือกอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตดีและมีสีสันสวยงามโดยทั่วไปส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูปควรประกอบด้วย โปรตีน 40% คาร์โบไฮเดรต 44%   ไขมัน10% วิตามินและแร่ธาตุ 6%       ส่วนประกอบของอาหารที่มีปริมาณโปรตีนต่ำจะทำให้ปลาโตช้าหรือชะงักการเจริญเติบโตและมีความสมบูรณ์ทางเพศน้อยหรือถ้าอาหารมีปริมาณโปรตีนมากเกินไป ปลาก็จะขับถ่ายของเสียออกมามากทำให้น้ำมีปริมาณแอมโมเนียสูงซึ่งเป็นพิษต่อปลา
   : ลูกปลาขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 1 นิ้ว) มีความต้องการโปรตีน ประมาณ 60 - 80% เพื่อการเจริญเติบโต
   : ปลาวัยรุ่นจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 40 - 60% เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางเพศทำให้ไข่พัฒนา
   : ปลาเต็มวัยจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 30 - 40%
               การให้อาหาร ควรให้วันละ 3 -5 % ของน้ำหนักปลา เช่น ปลาทั้งหมด น้ำหนัก 500 กรัม จะให้อาหารเม็ดวันละ 15 - 25 กรัม โดยแบ่งให้เช้าเย็นหรือจะใช้อาหารผสมแทน โดยใช้อาหารที่มีส่วนผสมของปลาป่น รำละเอียด กากถั่วป่น วิตามินและแร่ธาตุซึ่งกำหนดให้มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า40%อาหารสำเร็จรูปมีข้อดีกว่าอาหารธรรมชาติหลายประการได้แก่ สามารถควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอและความคงทนในขณะที่ละลายน้ำ แต่อาหารสำเร็จรูปจะทำให้น้ำเสียง่าย ขนาดของอาหารสำเร็จรูปสามารถปรับให้เข้ากับการเจริญเติบโตของลูกปลา    เมื่อปลามี
ขนาดใหญ่สามารถ ปรับขนาดได้ ขนาด วัสดุอาหารและกลิ่นของอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการทำอาหาร
วิธีการให้อาหารสำเร็จรูปมีข้อควรพิจารณาในการให้อาหาร ดังนี้
+ ปริมาณอาหารที่ให้ ไม่มากเกินไป ปลาควรกินหมดภายใน 15 นาที
+ ความถี่ หลักการให้อาหารควรจะให้ปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งทั้งนี้ควรให้วันละ 2 -3 ครั้งถ้าเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปควรมีการเสริมอาหารมีชีวิต
+ การยอมรับอาหาร บางครั้งพบว่า ปลาไม่ยอมรับอาหารที่ไม่เคยกินมาก่อน จึงจำเป็นต้องฝึกให้กินโดยอาจต้องให้ปลาอดอาหาร 1 - 2 วัน และลองให้กินอาหารใหม่อีกครั้ง แล้วสังเกตว่าปลายอมกินอาหารหรือไม่
+ การเลือกชนิดและปริมาณของอาหาร ควรต้องคำนึงถึงระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง
+ อาหารเร่งสี สีของตัวปลาเกิดจากการทำงานของเซลล์ผิวหนังซึ่งมีเม็ดสีอยู่ภายใน เม็ดสีที่อยู่ใน ชั้นของผิวหนังสีแดงหรือสีเหลืองของปลาทองเป็นสีของคาร์โรทินอยล์ชนิดแอสทาแซนธิน (Astaxanthin) คือถ้าในเซลล์ผิวหนังมีคาร์โรทินอยล์มากเท่าไร ย่อมทำให้ปลามีสีสดขึ้น
            ดังนั้นในปัจจุบันจะมีการใช้สารเร่งสี (แอสทาแซนธิน) ให้ปลากินเพื่อให้ปลามีลำตัวสีแดง และมีการใช้สไปรูไรน่า (Spirulina) ผสมกับอาหารเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มความเข้มของสีแดง ส้ม หรือสีเหลือง ในตัวปลา ปกติอาหารสำเร็จรูปส่วนมากจะมีสไปรูไรน่าผสมอยู่ในอัตราส่วนไม่เกิน 10% อาหารที่ผสมสารเร่งสีจะใช้เลี้ยงปลาที่มีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยให้กินในมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นจะให้กินอาหารมีชีวิต      ในกรณีที่เลี้ยงปลาทองในบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอไม่เป็นต้องให้อาหารเร่งสี
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง
           บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์  
             การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทองสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน ถังไฟเบอร์ ตู้กระจก ฯลฯ ทำเลที่เหมาะสมในการสร้างบ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง คือ บริเวณที่แสงแดดส่องได้บ้างในเวลาเช้าหรือเย็น หากเป็นที่โล่งแจ้งต้องทำหลังคาหรือร่มเงาให้แสงส่องลงได้เพียง 25-40 % บ่อที่ได้รับแสงแดดที่พอเหมาะจะทำให้สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) ให้อยู่ในปริมาณที่พอดี ทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดอยู่เสมอเหมาะกับความเป็นอยู่ของปลา พื้นที่บ่อไม่จำกัดใส่น้ำลึก 30-70 เซนติเมตร ขึ้นกับชนิดปลา ถ้าเป็นปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ ก็จะใส่น้ำตื้น ส่วนพันธุ์ออรันดาสามารถใส่น้ำลึกได้ให้อากาศผ่านหัวทรายตลอดเวลา บ่อขนาด 4 ตารางเมตร น้ำลึก 70 เซนติเมตร ใส่หัวทรายให้อากาศแรง ๆ 2-3 หัว ปล่อยพ่อแม่ปลาในอัตราส่วน เพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 2 : 3 ความหนาแน่น 6 ตัว/ตารางเมตร หรือปริมาตรน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์น้ำหนักรวม 2-2.5 กิโลกรัม
           อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์       อาหารธรรมชาติ ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไส้เดือนแดง หรืออาร์ทีเมีย อาหารมีชีวิตเหล่านี้จะทำให้ปลาโตเร็ว และปลากินได้ตลอดเวลา แต่การจัดเตรียมหรือจัดหาอาจมีความยุ่งยากในบางพื้นที่อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดปลากินพืชหรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก โดยอาหารเม็ดปลาดุกเล็กจะดีกว่า เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า สามารถเลี้ยงปลาได้เจริญเติบโตดี และมีสีสันสวยงาม การให้อาหารจะให้วันละ 2-3 % ของน้ำหนักปลา เช่น มีปลาทั้งหมดหนัก 500 กรัม จะให้อาหารเม็ดวันละ 10-15 กรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 มื้อ เช้า - เย็นคุณสมบัติของน้ำที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
       น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นน้ำสะอาด ใช้น้ำบาดาลน้ำจากแม่น้ำ หรือน้ำประปาที่ใส่ถังเปิดฝาให้คลอรีนระเหยออกอย่างน้อย 3 วัน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.5-7.5 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร จึงจำเป็นต้องมีระบบเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาตลอดเวลา ความกระด้าง (Hardness) 75-100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (Alkalinty) 75-200 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตร มีการดูดตะกอนก้นบ่อออกทุก ๆ 3 วัน แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเดิม การเลี้ยงปลาทองไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย เพราะจะทำให้ปลาช้ำและเกิดโรคง่าย จะเปลี่ยน 3 เดือนต่อครั้ง ในปริมาณ 25-50 % ของน้ำทั้งหมด และหากน้ำในบ่อมีคุณภาพไม่ดี ก็ให้ทำการล้างบ่อ นำน้ำเก่าจากบ่ออื่นมาเติมปริมาณ 30 % และใส่น้ำใหม่เพิ่มไปอีก 70 % การไม่เปลี่ยนน้ำนาน ๆ แล้วเปลี่ยนจะเป็นการกระตุ้นให้ปลาวางไข่เป็นอย่างดี
           การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง         ปลาทองจะเจริญพัฒนาจนกระทั่งมีความสมบูรณ์เพศเมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน น้ำหนัก 30 กรัม ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว แต่แม่ปลาขนาดเล็กจะให้ไข่น้อย และไข่มีขนาดเล็ก การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ควรตรวจสอบลักษณะรูปร่างให้มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ สมบูรณ์แข็งแรง มีครีบตั้งแข็งไม่ฉีกขาด มีเกล็ดเป็นเงางาม และตรวจสอบความสมบูรณ์เพศ ดังนี้
       ปลาเพศผู้ ในฤดูผสมพันธุ์ บริเวณแผ่นปิดเหงือก (operculum) และด้านหน้าของครีบหูจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายเม็ดสิวเรียกว่า pearl organ เกิดขึ้น เวลาสัมผัสจะรู้สึกสากมือ
       ปลาเพศเมีย มีรูปร่างกลมและป้อมกว่าเพศผู้ ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่เต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์นั้น ส่วนท้องจะอูมใหญ่ และอ่อนนิ่ม บริเวณก้นจะบวมและมีสีแดงเรื่อ ๆ แม่ปลาที่ใช้ไม่ควรมีอายุเกิน 1 ? ปี เนื่องจากแม่ปลาที่มีอายุมากเกินไปจะไม่วางไข่
           การฟักไข่          นำรังเทียมที่มีไข่เกาะติดไปฟักในถังฟักไข่ ซึ่งอาจใช้บ่อซีเมนต์ ถังไฟเบอร์ โอ่ง หรือกะละมังพลาสติกก็ได้ ถ้าใช้ถังไฟเบอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ใส่น้ำลึก 50-60 เซนติเมตร จะใช้ฟักไข่ได้ประมาณ 100,000 ฟอง ให้อากาศตลอดเวลา ไข่ปลาทองจะฟักออกมาเป็นตัวภายใน 2-4 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเล็กมาก ตัวใส เกาะติดกับรังไข่หลังจากฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 2-3 วัน ลูกปลาจึงจะว่ายออกจากรังไข่ และว่ายน้ำเป็นอิสระ ลักษณะตัวมีสีเข้มขึ้น จะนำรังเทียมออกจากบ่อในระยะนี้แล้วอนุบาลในบ่อเดิมต่อไป หรืออาจย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อใหม่ก็ได้
           การอนุบาลลูกปลาทอง          ลูกปลาทองที่ฟักออกเป็นตัวระยะแรก จะยังไม่กินอาหาร เนื่องจากยังใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ติดอยู่กับหน้าท้องได้ เมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงไข่แดงจะยุบ จึงเริ่มกินอาหาร อาหารในระยะแรกคือ ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด ละลายน้ำสาดให้กินวันละ 3-4 ครั้ง ลูกปลา 100,000 ตัว ให้ไข่ประมาณวันละ 1 ฟอง เมื่อลูกปลาอายุ 1 สัปดาห์ ควรเสริมไรแดงให้ลูกปลากิน ลูกปลาจึงจะเจริญเติบโตได้รวดเร็ว และแข็งแรงสมบูรณ์ หรือให้ไรแดงตั้งแต่วันที่ 3 เลยก็ได้ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จึงทำการคัดขนาดและย้ายบ่อ โดยคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันไปอยู่ในบ่อใหม่และให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็ก หรืออาหารมีชีวิต ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง เป็นต้น เมื่อลูกปลาทองมีอายุประมาณ 1.5-2.5 เดือน จะเริ่มเปลี่ยนสี ช่วงนี้ทำให้การคัดปลาที่มีลักษณะสวยงามถูกต้องตามสายพันธุ์เพื่อเลี้ยงไว้ต่อไป ส่วนปลาที่เหลือจะนำไปเลี้ยงรวมกันอีกบ่อ เป็นปลาทองที่จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่า สำหรับปลาที่พิการและถูกคัดทิ้งจะนำไปจำหน่ายเป็นปลาเหยื่อ
โรคปลาและวิธีการรักษา
โรคหนอนสมอ (Anchor worms)
อาการ : หนอนสมอจะมีขนาดความยาว 0.6-1 เซนติเมตร หนอนสมอจะใช้ส่วนหัวฝังเข้าไปในตัวปลาและยื่นส่วนหางออกมาทำให้เห็นเหมือนมีเส้นด้ายเกาะติดอยู่ที่ตัวปลา (ภาพที่ 46)ถ้าดึงออก ส่วนที่เป็นสมอมักจะขาดติดอยู่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดแผล เป็นทางให้แบคทีเรียเข้าสู่ตัวปลาได้ ปลาที่พบหนอนสมอจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือบ่อ และมีรอยแดงช้ำเป็นจ้ำตามตัว เนื่องจากปลาระคายเคืองเป็นอย่างมาก จะเอาตัวถูข้างบ่อ
การรักษา : แช่ปลาในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่ซ้ำทุก 7 วัน รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้งหรือเวลารักษา 1 เดือน
โรคเห็บ (Fish lice) Argulus sp.
อาการ : เห็บมีลักษณะกลมแบบคล้ายรูปจาน ขนาดยาว 3 - 5 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา แต่ละขายังแยกเป็นขาละ 2 คู่ (ภาพที่ 47) ปลาที่มีเห็บเกาะอยู่จะว่ายถูตัวกับข้างบ่อ เพื่อให้เห็บหลุดเกล็ดปลาจะหลุดเป็นแผล ซึ่งทำความเสียหายมากเนื่องจากปรสิตนี้สามารถขยายพันธุ์เร็ว
การรักษา : แช่ปลาที่มีเห็บในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ในอัตราส่วน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ตลอดไปและแช่ซ้ำทุก 7 วันต่อครั้ง รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้ง หรือเวลารักษา 1 เดือน
โรคจุดขาวหรืออิ๊ค (White spot "Ich")
อาการ : เกิดจากโปรโตซัวขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเป็นรูปไข่ Ichthyophthirius multifilis โดยจะฝังอยู่ที่ผิวและเหงือกของปลาปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังชั้นนอกเพิ่มขึ้นจนหุ้มปรสิตหมด ทำให้บริเวณนั้นกลายเป็นจุดขาว ๆ ระคายเคือง ผิวหนังมีอาการคันปรสิตจะขยายพันธุ์เจริญเต็มที่ หลุดออกจากตัวปลา ว่ายน้ำเป็นอิสระส่วนหนึ่งจะสร้างเกราะหุ้มตัวให้ตัวอ่อน เมื่อสภาพเหมาะสมเกราะก็จะแตกออก ตัวอ่อนว่ายเข้าติดตัวปลาต่อไป ถ้าเกาะไม่ได้ตัวอ่อนจะตายภายใน 4 วัน โรคจะลามภายใน 7-8 ชั่วโมงเท่านั้น มักเกิดช่วงหน้าฝน เมื่อปลากระทบน้ำฝนหรือหนาวเย็นจัด ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ครีบเปื่อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหว และว่ายน้ำถูกับข้างบ่อ
การรักษา : ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่ซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน : มาลาไคท์กรีนร่วมกับฟอร์มาลิน อัตรา 4 ซีซี กับ 1 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคเชื้อรา (Fungus)
อาการ : พบบริเวณผิวหนัง ครีบ บริเวณมีบาดแผล และในไข่ปลาที่ไม่ได้รับการผสมลักษณะเป็นเส้นใยอยู่เป็นกลุ่ม ปลาที่ได้รับเชื้อ Saprolegnia sp. จะมีปุยขาวคล้ายปุยสำลีเกาะติดตามลำตัวที่ได้รับความบอบช้ำหรือมีบาดแผลตามตัว ราจะเข้าเกาะทันทีราเจริญที่อุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส และมีวงจรชีวิต 1-2 วัน เท่านั้น
การรักษา : แช่ปลาในน้ำที่ผสมเกลือ 3-5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นานตลอดไป หรือใช้มาลาไคท์กรีน0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือ 2 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าปลาจะหายป่วย ซึ่งอาจต้องแช่ซ้ำ2-3 ครั้ง
โรคครีบและหางเปื่อย
อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยกินอาหารและมักจะว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ ครีบและหางจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และค่อย ๆ ลุกลามไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาหดหายไป ซึ่งจะทำให้ปลาตายในที่สุด โรคนี้เกิดจากปลาได้รับเชื้อโปรโตซัว และมีการติดเชื้อแบคทีเรียรวมด้วย
การรักษา : แช่ปลาป่วยด้วยฟอร์มาลิน 25 - 45 ซีซี/ น้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 วัน
: ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซน ในอัตราส่วน 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000ลิตรแช่ปลานาน 2-3 วัน
โรคเหงือกอักเสบหรือเหงือกเน่า (Gill rot)
อาการ : เหงือกปลาจะบวมแดง เกิดการเน่าและแหว่งหายไป (ภาพที่ 48) ปลาหายใจถี่ผิดปกติ และขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเสมอ ๆ หรือว่ายไปอยู่ที่ท่อออกซิเจน
การรักษา : ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยขึ้น และให้ออกซิเจน หรือใช้ด่างทับทิม 3-4 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ตลอดไป
โรคเวลเว็ทหรือโอโอดิเนียม (Velvet disease หรือ Oodinium disease)
อาการ : เป็นโรคที่เกิดจากปรสิต (Oodinium sp.) มีสีน้ำตาลคล้ายสนิมเกาะตามลำตัว เหงือก (ภาพที่ 49) ถ้ามีเป็นจำนวนมากจะทำให้ปลาว่ายน้ำทุรนทุราย เนื่องจากหายใจไม่ออก
การรักษา : แช่ปลาในน้ำเกลืออัตราส่วน เกลือ 1 กิโลกรัมในน้ำ 100 ลิตร แช่จนปลาเริ่มว่ายน้ำกระสับกระส่ายจึงจับปลาออก และอาจต้องทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 2-3 วัน
โรคท้องบวม (Abdominal dropsy)
อาการ : เป็นโรคที่ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ไม่เคลื่อนไหว อออยู่ใต้ผิวน้ำหรือจมก้นบ่อ ปลาไม่ค่อยกินอาหารในแบบเฉียบพลัน ส่วนท้องจะบวมมาก (ภาพที่ 50)มีน้ำสีแดงออกมาจากช่องท้อง และอาจเกิดเกล็ดตั้งขึ้น ส่วนแบบเรื้อรัง ผิวหนังของปลาจะเป็นรอยช้ำตกเลือด
การรักษา : แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซี่เตตร้าซัยคลิน หรือเตตร้าซัยคลิน ในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 2-3 วัน จึงถ่ายน้ำใหม่แล้วแช่ยาซ้ำอีก
: ไม่ควรเลี้ยงปลาในปริมาณที่แน่นจนเกินไปและควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม
การเกิดฟองอากาศ (Gas bubble disease)
อาการ : ส่วนมากจะเกิดกับลูกปลาที่เลี้ยงในบ่อที่มีแสงแดดจัด และมีสาหร่ายในน้ำปริมาณสูง (สังเกตจากน้ำในบ่อจะมีสีเขียวมาก) ซึ่งสาหร่ายจะทำให้เกิดการสังเคราะห์แสง และเกิดก๊าซออกซิเจนมากเกินไป ส่วนในตอนเย็นออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน เห็นเป็นฟองอากาศในตัวปลาโดยเฉพาะลูกปลา
การรักษา : ควรจะหาที่บังแดด โดยใช้ตาข่ายบังแสงให้มีแสงผ่านได้ 40-60%
โรคเสียการทรงตัว (Swim bladder disease)
อาการ : ปลาจะว่ายน้ำหมุนควงตีลังกา เสียการทรงตัว ตกเลือดตามตัวและซอกเกล็ด จะเกิดกับปลาตั้งแต่วัยอ่อนถึงตัวเต็มวัย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของถุงลมระบบแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ สาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด
การรักษา : ไม่พบวิธีการรักษาที่ได้ผล ส่วนมากถ้าพบปลาป่วย จะนำปลาไปเลี้ยงในที่แคบ ๆ เพิ่มอุณหภูมิ และความเค็ม โรคเสียการทรงตัวบางครั้งไม่ได้ขึ้นกับกระเพาะลมอย่างเดียวอาจเกิดจากการทำงานของระบบย่อยอาหารผิดปกติ ทำให้เกิดก๊าซมาก
การเลี้ยงปลาทอง
        หลังจากที่อนุบาลลูกปลาทองได้ 2-4 สัปดาห์ สามารถนำลูกปลาทองไปเลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่ โดยแยกวิธีการเลี้ยงได้ 2 รูปแบบ คือ
การเลี้ยงในบ่อดิน
        วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาระยะเวลาสั้นเพื่อที่จะขายปลาให้เร็วและในปริมาณมากเพราะการเลี้ยงในบ่อดินจะช่วยให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เนื่องจากภายในบ่อดินมีอาหารธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ การเลี้ยงในบ่อดินจะทำให้ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ การคัดปลา และค่าอาหาร ซึ่งเหมาะแก่การเลี้ยงปลาทองสายพันธุ์ออแรนดา บ่ออาจมีขนาดตั้งแต่ 10 ตารางเมตร ถึง 800 ตารางเมตร หรือ 2 งาน (ภาพที่ 43)
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาทองในบ่อดินควรเป็นอาหารลอยน้ำเพราะผู้เลี้ยงสามารถสังเกตการกินอาหารของปลาได้ เช่น อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ 2 ครั้ง/วัน เช้า - เย็น พบว่าอัตรารอดของลูกปลาทองที่เลี้ยงในบ่อดินประมาณ 30-70% เนื่องจากในบ่อดินจะมีพวกกบและงู คอยกินลูกปลาจึงทำให้อัตรารอดน้อย การใช้ตาข่ายกั้นรอบ ๆ บ่อจะทำให้อัตรารอดสูงขึ้น (ภาพที่ 44) สำหรับบ่อขนาด 2 งานสามารถเลี้ยงลูกปลาทองขนาด 1 นิ้ว ได้ถึง 9,000 ตัว (90 ตัว/ตารางเมตร)
            ส่วนมากการเลี้ยงในบ่อดินจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำนอกจากมีการเติมน้ำลงในบ่อกรณีที่ระดับน้ำลดลงไปมากหรือน้ำสกปรกจึงถ่ายเปลี่ยนน้ำ การเลี้ยงในบ่อดินส่วนมากจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้นกว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ผู้เลี้ยงจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนก็สามารถขายปลาทองที่มีประมาณขนาด 3 นิ้ว ถ้าเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ต้องใช้เวลาถึง 3 เดือน
           หลังจากที่มีการเลี้ยงในบ่อดินได้ 2-2.5 เดือน ปลาทองจะมีขนาดประมาณ 2.5-3 นิ้ว เริ่มดำเนินการคัดปลาเพื่อจำหน่ายโดยปลาที่พิการจะถูกขายเป็นปลาเหยื่อ ส่วนปลาที่มีลักษณะดีก็นำไปเลี้ยงต่อเพื่อเพิ่มราคาหรือนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ จะใช้พื้นที่น้อยกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยครั้งและดูแลเอาใจใส่ปลาเป็นอย่างมากเพื่อให้ได้ปลาที่มีคุณภาพ วิธีนี้เหมาะกับผู้เลี้ยงปลาทองหัวสิงห์ปลาทองตาโปน เกล็ดแก้วและริวกิ้น การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์จะต้องมีการคัดปลาทุกสัปดาห์ โดยคัดปลาที่มีลักษระดีรูปร่างได้สัดส่วนและสีสันสวยงาม
             การปล่อยลูกปลาอนุบาลในบ่อซีเมนต์ (ขนาดปลา 1-1.5 นิ้ว) ความหนาแน่นประมาณ 40-50 ตัว/ตารางเมตร ส่วนปลาที่มีรูปร่างผิดปกติหรือพิการคัดทิ้งขายเป็นปลาเหยื่อในราคาต่ำ หรือในกรณีที่มีระบบกำจัดของเสียตลอดเวลา (น้ำไหลตลอดเวลา) ก็สามารถเลี้ยงได้หนาแน่นมากขึ้น 50-100 ตัว/ตารางเมตร (ปลาขนาด 1.5 นิ้ว) บางฟาร์มคัดปลาที่มีลักษณะดีมากเลี้ยงด้วยความหนาแน่นที่น้อยลงคือ30 ตัว/ตารางเมตร ส่วนปลาที่เกรดต่ำลงมาจะเลี้ยงด้วยความหนาแน่นมากขึ้น คือ 50 ตัว/ตารางเมตร
               นอกจากการคัดลักษณะปลาแล้วก็มีการคัดขนาดปลาด้วยเพราะปลาขนาดเล็กจะไม่สามารถแย่งอาหาร
กินกับปลาใหญ่ได้การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ถ้ามีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว มีการเปลี่ยนสีและสีจะลอกเร็วด้วย อัตราการรอดของลูกปลาที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์สูงกว่าการเลี้ยงในบ่อดินถ้าผู้เลี้ยงต้องการที่จะผลิตปลาทองที่มีคุณภาพ ควรจะเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ซึ่งวิธีนี้แม้จะต้องใช้เวลามากในการเลี้ยงและการดูแล แต่ปลาจะขายได้ราคาดี สำหรับปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ขนาด 4-5 นิ้ว รูปร่างสีสัน ลักษณะหัวและครีบตรงกับความต้องการของตลาดจะมีราคาเริ่มตั้งแต่ตัวละ 300 บาท ถึงหลายพันบาท

วิธีสังเกตปลาป่วย
โรคปลาทอง

       การเลี้ยงปลาทองให้มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี แต่ในบางครั้งเมื่อสภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งพบว่าต้นฤดูฝนปลาที่เลี้ยงไว้ที่กลางแจ้งมักจะเกิดการล้มป่วยและตายโดยไม่รู้สาเหตุ ทั้งนี้เป็นเพราะก่อนฝนตกอากาศจะร้อนอบอ้าว แต่พอฝนตกลงมาอากาศก็เย็นลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคุณสมบัติของน้ำก็เปลี่ยนไปอีกด้วยทำให้ปลาปรับสภาพไม่ทันจึงมักเกิดการล้มป่วย
สาเหตุของโรค
+ น้ำ ถ้าปล่อยให้น้ำเสียโดยไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารตกค้างมาก ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมากกว่า 1นั้นหมายความว่า มีสารละลายปนอยู่ ทำให้ปลาหายใจลำบากอาจเกิดโรคได้ เนื่องจาก pH ของน้ำเปลี่ยนแปลง น้ำฝนที่ตกลงมาใหม่ก็เป็นสาเหตุทำให้ pH เปลี่ยนแปลง เช่นกัน
+ อุณหภูมิและระดับออกซิเจนในน้ำ ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำที่ปลาอาศัยอยู่อย่างรวดเร็ว (เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิเกิน 5 องศาเซลเซียส ในเวลาสั้น) ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลให้ปลาอ่อนเพลียภูมิคุ้มกันของปลาลดลง
+ ก๊าซต่าง ๆ เกิดจากการหมักหมมของอาหารและสิ่งที่ปลาขับถ่ายออกมา เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนียที่เป็นพิษต่อปลา
+ พาหะนำเชื้อโรค ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง อาจนำเชื้อโรคและปรสิตบางตัวมาสู่ปลา เช่น หนอนสมอโรคจุดขาว
+ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกับปลาที่เป็นโรค จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ ควรมีบ่อเฉพาะสำหรับรักษาโรคและแยกอุปกรณ์ไว้ต่างหาก
วิธีการสังเกต
       ในขณะที่ปลาป่วย ปลาจะมีลักษณะและอาการว่ายน้ำผิดปกติ ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้
+ ลักษณะการเคลื่อนไหวของปลาที่เป็นโรคจะผิดปกติ มีอาการเซื่องซึม อาจว่ายน้ำเสียดสีหรือถูกับก้นบ่อว่ายมาออกันที่ผิวน้ำ โดยเฉพาะปลาที่มีปรสิตเกาะ
+ ปลาที่เป็นโรค ขณะว่ายน้ำจะไม่กางครีบออกครีบอาจจะกร่อนแหว่งหายไป
+ เหงือกบวมแดงเห็นชัดเจน เนื่องจากหายใจไม่สะดวก พยายามเปิดปิดเหงือกมากที่สุดเหงือกอาจบวมจนถึงกระดูกเหงือก
+ มีเลือกออกตามเกล็ด หรือมีบาดแผลตามตัว
+ ปลาที่เป็นโรคจะมีสีซีดกว่าปกติ
+ ปลาขับเมือกออกมามากผิดปกติ น้ำมีสีขาวขุ่นภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลามีเมือกจับเต็มไปหมด
+ เกล็ดพองลุกชัน ท้องโต ทั้ง ๆ ที่ปลาไม่มีไข่เรียกว่าท้องมาร
+ ปลาผอมไม่ค่อยกินอาหาร โดยปกติปลาทองจะเป็นปลาที่กินอาหารเก่งและกินเกือบตลอดเวลาไม่ค่อยหยุดถ้าปลาไม่ยอมกินอาหารแสดงว่าปลาอาจป่วย แต่ถ้าช่วงอากาศหนาวหรืออากาศค่อนข้างเย็น ปลาจะไม่กินอาหารถือว่าเป็นเรื่องปกติ
+ ปลาเสียการทรงตัวเกิดจากถุงลมผิดปกติ อาจว่ายน้ำหมุนควงหรือว่ายน้ำแบบบังคับทิศทางไม่ได