-บทนำ

-ปลาหางนกยูง

-ปลากัด

-ปลาการ์ตูน

-ปลาเสีือตอ

-ปลาออสการ์

-ปลาืทอง

-ปลาหมอสี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ปลาหมอสี
           ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดจัดอยู่ในวงศ์ Cichlidae พวกเดียวกับปลานิล ปลาหมดเทศ ปลา ออสการ์ ปลาปอมปาดัวส์ เป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย อดทน มีพฤติกรรมที่หลากหลาย ถ้าผู้เลี้ยงไม่เข้าใจพฤติกรรมของปลาหมอสีก็จะทำให้ตายได้ง่าย ฉะนั้น ก่อนเลี้ยงก็ควรศึกษาหาอ่านจากตำราการเลี้ยงปลาหมอสีก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับปลาหมดสีทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่มากมาย ผู้เลี้ยงที่เพิ่งเริ่มต้นก็หาซื้อปลาที่มีราคาถูกหน่อยเลี้ยงหาประสบการณ์ก่อนแล้วค่อยไปซื้อชนิดราคาแพงเมื่อมีความสามารถมากขี้นแล้ว
          
สายพันธ์ปลาหมอสี                                                
สกุลแอริสโทโครมิส
   ลักษณะของจะงอยปากที่เป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายดั้งจมูกของชาวกรีก ซึ่งมีเพียง 1 ชนิดคือ ปลาหมอคริสตี้ ลักษณะลำตัวยาวแบนข้างหัวโต หน้ายาว หน้านัยน์ตาหักเป็นมุม แล้วลาดโค้งเข้าหาแนวสันของกะโหลก ตามีขนาดปานกลางคอดหางสั้น ครีบกระโดงที่ส่วนปลายเป็นก้านครีบอ่อนจะยกสูงขึ้นจากแนวของส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยว ปลายกระโดงมนและยาวจรดโคนหาง ครีบอกและตะเกียบมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดใหญ่ ปลายครีบเกือบตัดตรง กินปลาที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จุดเด่นของปลาหมอคริสตี้ ในระยะโตเต็มวัยมีหัวสีฟ้าคราม ลำตัวสีน้ำเงินแถบสีดำ ขอบเกล็ดสีดำ ครีบกระโดงส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยวสีฟ้า ครีบก้นสีเหลือง มีจุดไข่สีฟ้า ตะเกียบสีเหลืองขอบฟ้าครีบอกเหลืองใส ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ความยาวสุด 30 เซนติเมตร การผสมพันธุ์ ตัวเมียอมไข่ไว้ในปาก จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ในระยะนี้แม่ปลายังคงดูแลลูกต่อไปอีกเป็นเวลา 1 เดือน การวางไข่แต่ละครั้ง ปลาจะให้ลูกประมาณ 30 ตัว
   
สกุลออโลโนคารา
            ลักษณะพิเศษของรูที่ปรากฎอยู่ตามหน้าผาก แก้ม และขากรรไกรล่าง รูเหล่านี้จะเรียงเป็นแถวเช่นเดียวกับรูของเส้นข้างตัวเส้นประสาทเชื่อมโยงติดต่อกันเป็นระบบ ทำหน้าที่ในการปรับความกดดันของน้ำในขณะที่ปลาเคลื่อนไหวและใช้จับความเคลื่อนไหวของสัตว์ที่เป็นอาหารลักษณะประจำอีกอย่างหนึ่งของปลาสกุลออโลโนคารา คือ มีเกล็ดที่แก้ม 1 แถว หรือ 1 แถวครึ่ง
            มาลาวีเหลือง         ลำตัวยาวเรียว หัวมีขนาดปานกลางได้สัดส่วนกับลำตัว ตาโตและโปน ช่วงตาห่างปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางยาวเรียว ครีบกระโดงมีปลายเรียวยาว ส่วนปลายสุดของกระโดงยาวเกือบจรดปลายหาง ครีบหางเว้า ครีบก้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตะเกียบใหญ่กว่าครีบอกและปลายตะเกียบยาวเลยจุดเริ่มของครีบหาง ลักษณะเด่นของมาลาวีเหลือง พื้นลำตัวมีสีเหลืองและแถบสีน้ำเงินขวางลำตัว 5-7 แถบ แก้มสีน้ำเงิน กระโดงสีเหลือง มาลาวีเหลืองเป็นปลาขนาดเล็ก ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้กินสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติเป็นอาหาร การผสมพันธุ์โดยตัวเมียอมไข่ ส่วนการเลี้ยง ผู้เลี้ยงจะให้อาหารสำเร็จรูป
            มาลาวีสีน้ำเงินคอแดง   ลำตัวยาวแบนข้างหัวมีขนาดปานกลาง นัยน์ตาโต จะงอยปากสั้น ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางเรียวยาว ครีบกระโดงมีความสูงไล่จากจุดเริ่มจนถึงปลายหางมีความลาดเอียงสวยงาม ปลาครีบกระโดงยื่นออกมาจรดส่วนหางครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกับส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนของครีบกระโดง ครีบหางที่ปลายเว้าเล็กน้อย ตะเกียบยาวเลยจุดเริ่มต้นของครีบก้น ครีบอกมีขนาดเล็กที่สุด
           มาลาวีห้าสี  เป็นปลาลูกผสมมีรูปร่างคล้ายมาลาวีน้ำเงินแต่หัวโตกว่า สันของสโลพหน้าครีบกระโดงนูนจะงอยปากทู่ นัยน์ตาโต คอดหางสั้น ครีบกระโดงมีส่วนปลายยาวเลยจุดเริ่มต้นของครีบก้น กินอาหารสำเร็จรูปหรือให้ไรน้ำเค็มเป็นอาหารเสริมจะช่วยให้ปลามีสีสันสดใสยิ่งขึ้น หมอมาลาวีแดง จุดเด่นของปลาหมอมาลาวีแดงอยู่ที่สีส้มแดงบริเวณส่วนต้นของลำตัวตั้งแต่ช่วงตา ถึงฐานครีบกระโดงหลังช่องเหงือกและหน้าอกโดยรอบ ลำตัวมีพื้นสีฟ้าสลับด้วยเกล็ดสีส้ม และมีแถบสีดำพาดขวางลำตัวอยู่บริเวณใต้ครีบกระโดง 7 แถบ ท้องสีส้มแก้มและจะงอยปากสีฟ้าปนน้ำเงินแซมด้วยสีแดงประกายครีบกระโดงมีฐานสีฟ้าขอบสีขาวแซมสีส้ม และปลายกระโดงมีลายสีส้ม ครีบอกสีส้ม ตะเกียบมีขอบสีขาวหรือดำ ครีบก้นสีส้มมีจุดไข่ในปลาบางตัว และครีบหางมีพื้นสีส้มแดงลายฟ้า
           หมอมาลาวีน้ำเงิน จุดเด่นของปลาหมอมาลาวีน้ำเงินอยู่ที่สีของลำตัวที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ครีบกระโดงมีขอบสีขาวและปลายครีบมีสีเหลืองอมฟ้า ตะเกียบสีน้ำเงินขอบขาวครีบก้นมีฐานสีน้ำเงินดำ ตัวครีบสีน้ำเงินปนฟ้าและมีจุดสีเหลืองแซม ครีบหางมีพื้นสีเหลืองปนขาวเงินประดับด้วยจุดและประสีแดงเข้ม ดูคล้ายหางนกยูง อาหาร กินสัตว์น้ำในธรรมชาติประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง
สกุลโคพาไดโครมิส   สมาชิกของปลาสกุลนี้รูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิด ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์วางไข่ การหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ อาหารหลัก คือ แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ดังนั้นปากของมันจึงพัฒนาให้เหมาะสมต่อการจับอาหารที่มีขาดเล็ก โดยริมฝีปากบนและล่างเชื่อมติดกันมีลักษณะคล้ายท่อ ซึ่งสามารถยืดและหดได้ ชนิดปลาในสกุลนี้ อาทิ หมอบอร์เลยี คาดันโก จุดเด่นของปลาหมอบอร์เลยี อยู่ที่ครีบตะเกียบที่มีปลายยาวเรียวเป็นสายรยางค์ ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเว้าไม่ลึก ครีบหูบางและโปร่งใสจนเห็นก้านครีบชัดเจน ลักษณะของสีแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่อยู่อาศัย ขนาดตัวผู้มีความยาวสุด 15 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า การผสมพันธุ์ ตัวผู้มีนิสัยก้าวร้าวและหวงถิ่น ตัวเมียฟักไข่ด้วยปาก อาหารกินแพลงก์ตอนทั้งพืชและสัตว์ในธรรมชาติ
สกุลลาบิโอโทรเฟียส   สกุลนี้มีลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์ที่ปลายจะงอยปากที่ยืนล้ำเลยออกไปจากริมฝีปากบนลักษณะคล้ายปลายจมูกที่โด่งปลาสกุลนี้มีเพียง 2 ชนิด หมอปากโลมาตัวอ้วนห้าสี ลำตัวสีเหลืองส้มและมีจุดดำกระจายทั่วไป นัยน์ตาไม่มีสีแดงและมีจุดไข่ที่ครีบก้น หมอปากโลมาตัวผอม มีลำตัวสั้นและผอมกว่าหมอปากโลมาตัวอ้วน แต่จะงอยปากลาดเรียวแหลมกว่า มีสีเหลืองสนิมอยู่ในแนวสันหลัง ส่วนบนของข้างลำตัว ตัวผู้ความยาวสุดประมาณ 12-13 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า ปลาที่เลี้ยงให้อาหารสำเร็จรูป
                สำหรับท่านที่ต้องการเลี้ยงปลาต้องรู้จักคุณลักษณะ ชนิดและขนาด เช่น ปลาแคระสามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้ ปลาหมอสีส่วนใหญ่จะดุมักเลี้ยงเดี่ยว ส่วนขนาดตู้ปลาขึ้นอยู่กับสถานที่และชนิดปลา ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 30 เปอร์เซ็นต์ ตู้ขนาดดังกล่าวใส่เกลือเม็ด 1 กำมือ

ขนาด  ตู้เลี้ยงปลาควรมีขนาดใหญ่ ความจุไม่น้อยกว่า 500 ลิตร แต่ถ้ามีตู้เล็กก็แยกเลี้ยงเพียงตู้ละหนึ่งตัวตู้ด้านบนมีฝาปิดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ และช่วยให้อุณหภูมิของน้ำไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
แสงสว่าง  ควรให้แสงสว่างที่เหมาะสม หากแสงสว่างมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่ออกสี ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง
การตกแต่ง  ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งได้มีการเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ก้อนหินทำจากไฟเบอร์กลาส ถ้าใช้ของจริงควรเลือกใช้วัสดุที่เบาและไม่มีสารพิษละลายน้ำได้ อาจใช้กรวดหรือทรายธรรมชาติล้างให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้หลาย ๆ วัน เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก ที่ติดมากับหินและทรายให้หมด หากใช้ก้อนหินจริงที่มีขนาดใหญ่วางบนพื้นทราย ปลาจะขุดคุ้ยทรายและทำให้ก้อนหินล้มลงกระทบกระจกตู้ปลาแตกเสียหายได้
น้ำเลี้ยงปลา  น้ำในทะเลสาบมาลาวีมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเฉลี่ยประมาณ 8.8 ฉะนั้นน้ำไม่ควรอยู่ในช่วง 7.0 -8.5 อุณหภูมิปกติ 23-28 องศาเซลเซียส ปลาจากทะเลสาบแทนแกนยีกา ควรมีค่าของน้ำระหว่าง 7.8 - 9.5 ปัจจุบันร้านจำหน่ายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาสวยงามมีเกลือที่ใช้ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำได้ ส่วนปลาที่มาจากทะเลสาบวิกตอเรีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้ไม่มีปัญหาเรื่องความเป็นกรดเป็นด่างและอุณหภูมิของน้ำ
 ข้อควรระวัง ปลาที่นำเข้ามาทุกครั้งก่อนปล่อยลงตู้หรือบ่อเลี้ยงควรวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในถุงด้วย ถ้ามีความแตกต่างกับน้ำในตู้ปลาควรปรับให้มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุด ซึ่งทำง่ายโดยใช้กระดาษลิตมัส
อาหาร ปลาหมอสีสามารถปรับตัวได้ดีกินอาหารได้ทุกประเภท แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมไขมันจากเนื้อสัตว์ เพราะไขมันจะไปทำลายตับของปลาเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลาที่เลี้ยงตาย ฉะนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงควรมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับอาหารธรรมชาติมากที่สุด ปลาหมอสีกินพืช ควรเลี้ยงอาหารปลากินพืช พวกปลากินสัตว์ เช่น กุ้ง ไรน้ำเค็ม หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงกับอาหารสำเร็จรูปที่ใช้โดยทั่วไปควรมีส่วนประกอบของกากถั่ว กุ้ง สาหร่ายเกลียวทอง ปริมาณอาหารไม่ควรให้เกินความต้องการของปลา จะทำให้ปลาอ้วนและอ่อนแอ ในกรณีเลี้ยงเพื่อการเพาะพันธุ์ ถ้าให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่มีไข่และน้ำเชื้อ
           ธรรมชาติของปลาหมอสีเป็นปลาที่อดทน สามารถอดอาหารนับสิบวัน หากท่านไม่อยู่บ้าน 5 - 10 วัน ปลาก็สามารถอยู่ได้อย่างปกติ แม้ว่าในแหล่งน้ำธรรมชาติมีอาหารจำกัด โดยเฉพาะแม่ปลาที่ฟักไข่ด้วยปาก ต้องอมไข่จนไข่ฟักเป็นตัว และอมต่อไปจนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำออกจากปาก เพื่อหากินอาหารต่อไป ซึ่งใช้เวลาอีก 15-20 วัน ในระยะนี้แม่ปลาจะไม่กินอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น
พันธุกรรม พันธุกรรมของปลาหมอสีที่มีผลต่อการควบคุมพัฒนาการของลักษณะต่าง ๆ ที่เรียกว่า ยีน การรวมของยีนจะประกอบด้วยยีนจากพ่อและแม่ของสัตว์แต่ละชนิด การผ่าเหล่าจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมีผลแสดงออกมาให้เห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะทางโครงสร้างและสีสัน เช่น การเกิดเป็นสีเผือก จุดสีหรือจุดสีอื่น ๆ ที่แปลก ออกไป โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่า กลุ่มปลาหมอสีมีความสำคัญของการจำคู่ของตน แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติจะเป็นตัวทำให้เกิดความสมดุลในกลุ่มของมันเอง ในกรณีการเกิดเลือดชิด ก่อให้เกิดปลาชนิดใหม่

หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ

1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้
6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ
                เมื่อหลัก 7 ประการนี้คุณแก้ปัญหาได้แล้ว คราวนี้ก็เริ่มลงมือเลี้ยงกันได้ สมมุติว่าตู้ปลาจัดตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ตำราก็อ่านแล้วมีความมั่นใจ 100% ถุงใส่ปลาถูกแกะออกปลาฝูงแรกถูกปล่อยลงตู้แล้วทุกตัวพร้อมใจกันว่ายเข้าหาที่ซ่อน ไม่ต้องตกใจนั่นเป็นสัญญาณของปลา สักครู่ตัวที่กล้าหน่อยหรือตกใจน้อยหน่อยจะเริ่มว่ายน้ำสำรวจที่อยู่อาศัยใหม่ ตัวอื่นๆก็จะตามมาที่มีนิสัยรวมฝูงก็จะรวมกัน      บางตัวก็ว่ายเที่ยวแล้วแต่ชนิดและนิสัยของแต่ละตัวไม่ต้องให้อาหารวันที่สองเมื่อปลาส่วนใหญ่สงบลงแล้วเริ่มให้อาหารเล็กน้อยเป็นอาหารมีชีวิตได้ก็ดีถ้าไม่มีอาหารเม็ดก็ได้ ให้น้อยๆดูจนกว่าปลาจะกินอาหารเม็ดหมด ทิ้งไว้สัก 2-3 ชั่วโมง ถ้ามีเศษอาหารเหลือก็ให้ตักออกทิ้งไป สัปดาห์แรกผ่านไปคุณจะรู้สึกว่าตัวเองกะประมาณอาหารที่ให้ปลาได้ดีขึ้น อาหารที่ให้ไม่ค่อยเหลือซึ่งจะดีมากน้ำจะใสไม่เสีย ถ้ามีปลาตายก็รีบตักออกไปจากตู้โดยเร็ว สังเกตุด้วยว่าตายสภาพอย่างไร ถ้าครีบขาดรุ่งริ่งแสดงว่ามันกัดกัน แยกตัวที่ก้าวร้าวออกไปใส่ไว้ในตู้พักปลา ถ้าภายในสภาพตัวยังสมบูรณ์ก็เกิดจากหลายสาเหตุ และตายติดต่อกันทุกวันก็ต้องเปิดตำราและถามผู้รู้แล้วละ สัปดาห์ที่สอง-สาม-สี่ ปลาก็จะเริ่มคุ้นกับคุณแล้วละมันจะเริ่มมาหาคุณไม่กลัวคุณ ยิ่งคุณอยู่ดูมันมากเท่าใดมันก็จะยิ่งคุ้นกับคุณมากขึ้นเท่านั้น การสื่อสารระหว่างคุณกับปลาก็จะยิ่งรู้เรื่องกันมากขึ้น แต่คุณต้องไม่ลืมคนที่อยู่รอบข้างคุณนะครับ นานเข้าก็จะมีเสียงบ่นเดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นอะไรมัน(หมายถึงตัวคุณนะครับ) กลับจากเรียน(หรือทำงาน)แล้วก็นั่งขลุกอยู่หน้าตู้ปลาตลอด ถ้าเป็นแบบนี้คุณควรจะห่างจากปลาของคุณไปสนใจคนอื่นบ้าง แล้วหาเวลาช่วงก่อนนอนหรือคนอื่นพักผ่อนกันแล้วค่อยมาดูแลปลาของคุณ โดยสังเกตุปลาทุกตัวทีละตัว คุณจะพบว่ามันโตขึ้นมาก แข็งแรง สุขภาพดี ซึ่งเป็นความปรารถนาของคุณพอทุกอย่างเงียบสงบ คุณจะได้ยินเสียงกระซิบว่า ดูแลสุขภาพด้วยฉันก็เป็นห่วงคุณเหมือนกัน ก็พอดีได้เวลาเข้านอนรุ่งเช้าคุณตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นเพื่อไปเรียนหรือทำงานต่อตามเรื่องของคุณ